
ทำอย่างไรเมื่อพนักงานทะเลาะกัน
สถานที่ทำงานย่อมมีคนหลากหลายประเภท ต่างที่มาที่ไป
ความคิดเห็นย่อมต่างกันเป็นธรรมดา
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้นในที่ทำงาน ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวหรือมีแต่ข้อเสียเ
เพราะบางความขัดแย้งอาจก่อให้เกิดผลดีก็คือ เกิดการแข่งขัน มีความมุ่งมั่นในการทำงาน สร้างความท้าทายให้เกิดสิ่งใหม่ๆ
ช่วยให้องค์กรอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในปัจจุบัน
แต่บางความขัดแย้งอาจฉุดรั้งความก้าวหน้าขององค์กร ซึ่งในกรณีนี้จะต้องวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้น
แก้ไขปัญหาให้เหมาะสมโดยยึดหลักความถูกต้อง ยุติธรรม โดยการยอมรับเหตุผลด้วยกันทุกฝ่าย
เจรจาด้วยเหตุผล
เมื่อเกิดปัญหาขึ้นไม่ควรหลีกหนีปัญหา
ทำเฉยเพื่อให้เรื่องจบๆ ไป หรือที่เลวร้ายกว่านั้นคือกล่าวว่าจาว่าร้ายกัน
เพราะจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายลงไปกว่าเดิม การไม่สะสางปล่อยทิ้งไว้ปัญหาอาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความรู้สึกแย่ๆ
ระหว่างคู่กรณี รวมไปถึงสร้างความตึงเครียดให้กับผู้ร่วมงานคนอื่นด้วย การเผชิญหน้ากันในช่วงเวลาที่เกิดปัญหาขึ้นคือเวลาที่เหมาะ
เพียงแต่ต้องเลือกช่วงเวลาที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายควรจะเจรจาเพื่อหาข้อยุติด้วยเหตุผลไม่ใช้อารมณ์
มีคนกลางไกล่เกลี่ยปัญหา
การมีคนกลางหรือบุคคลที่สามเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งนับเป็นทางออกอีกวิธีที่น่าสนใจไม่น้อย
ซึ่งผู้ไกล่เกลี่ยจะทำหน้าที่ในการช่วยกำหนด วิเคราะห์ปัญหา และสร้างความเข้าใจในความจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด
โดยรับฟังเงื่อนไขของปัญหาเพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดองโดยไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
และผู้ไกล่เกลี่ยควรเป็นบุคคลที่คู่กรณีทั้งสองให้ความยอมรับ
กำหนดหน้าที่ของแต่ละคน
การกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนให้ชัดเจน
จะทำให้ได้รู้ว่าคนแต่ละคนในองค์กรในทีมทำอะไร รับผิดชอบส่วนไหน
มีหน้าที่อะไรกันบ้าง เมื่อเกิดปัญหาในการทำงานขึ้นจะได้ไม่กล่าวโทษกันไปมา เพราะมีการระบุขอบเขตหน้าที่ของแต่ละคนอย่างชัดเจน
จะไม่มีการโยนความผิดไปให้บุคคลอื่น ช่วยทำให้งานมีประสิทธิภาพขึ้น เพราะไม่มีใครอยากถูกประเมินว่าทำงานไม่สำเร็จ หรือไม่มีความรับผิดชอบในการทำงาน